Free Skinhi5

math50

ประวัตินักคณิตศาสตร์


พอล แอร์ดิช ( Paul Erdös) พอล แอร์ดิช อัจฉริยะนักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2456 ที่เมือง Budapest, Hungary พอล แอร์ดิช เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก เขาคูณเลขสามหลักในใจได้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ, รู้จักเลขลบ (negative number) เมื่ออายุได้ 4 ขวบ,เมื่อเรียนอยู่ชั้นประถมสามารถคิดกำลังสองของเลขจำนวนสี่หลักได้ ฯลฯแต่ในขณะที่อีกด้านหนึ่งของเขากลับตรงกันข้ามเขาผูกเชือกรองเท้าเป็นตอนอายุ 11 ขวบ, ทาแยมบนขนมปังเป็นตอนอายุ 21,หั่นผลไม้ไม่เป็น, ดูแลตัวเองแทบไม่ได้ เขาหลงใหลคลั่งไคล้คณิตศาสตร์อย่างไม่ลืมหูลืมตา ใช้เวลาวันละสิบเก้าชั่วโมงเพื่อทุ่มเทคิดและเขียนคณิตศาสตร์ตราบจนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต เขามีผลงานคณิตศาสตร์ที่ได้รับการตีพิมพ์มากกว่า 1,400 ชิ้น จนได้รับการยอมรับว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและนับว่ามีผลงานมากกว่านักคณิตศาตร์คนใดในศตวรรษนี้ และมีผลงานร่วมกับนักคณิตศาสตร์ 485 คนเขาเดินทางตะลอนไปบรรยายทั่วโลกพร้อมข้าวของเครื่องใช้ในถุงพลาสติกเก่าๆ ไม่สนใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่ถือว่าสำคัญในชีวิต มนุษย์ไม่ว่าจะเป็น เงิน อาหาร เซ็กส์ การมีเพื่อนคู่ใจ หรือศิลปะ แม้เขาจะได้รับการยอมรับว่าเป็น "อัจริยะ" แต่เขาต่างจากอัจฉริยะคนอื่น ๆ นั่นคือ นอกเหนือจากต้องสูญเสียความสามารถ "สามัญ" ที่มนุษย์ทั่วไปควรมี เช่น การเปิดกระป๋องเครื่องดื่ม การปิดหน้าต่างยามเมื่อฝนตก การใช้มีดปาดเนยทาขนมปัง ฯลฯ เขาทำไม่ได้ และมีสิ่งที่เขาต้อง "สูญเสีย" อย่างมหาศาล เพื่อแลกกับการได้ "รีด" เอาความอัจฉริยะออกมาสิ่งแรกก็คือ "ความรัก" ทั้งในเชิงกายภาพที่เป็นรูปธรรม คือการ "ร่วมรัก" และในเชิงนามธรรม คือความสัมพันธ์ทางจิตใจ ไม่ว่า หรือหญิงกับชาย พอล แอร์ดิช สารภาพว่า ตั้งแต่เกิด จนถึงอายุ 70 กว่าปี (ซึ่งก็น่าจะยาวถึง 83 ปี ที่เขาตาย) เขาไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับใครเลย ไม่ว่าหญิงหรือชายเขาแสดงออกอย่างชัดแจ้ง ถึงความเกลียดชังต่อภาพผู้หญิงโป๊ แต่ก็ไม่ใช่เกย์ขณะเดียวกัน ก็พยายามแสดงให้ใครต่อใครเห็นว่า "เขาไม่มีเวลา" ที่จะไปคิดถึง "ความรักในเชิงชู้สาว" เพราะทุกนาทีที่ตื่น เขาจะหมกหมุ่นอยู่กับตัวเลข และการแก้โจทย์ต่างๆ เท่านั้น ใน 24 ชั่งโมง พอล แอร์ดิช จะอยู่กับจำนวนตัวเลขเสีย 19 ชั่วโมง จริงแล้ว พอล แอร์ดิช ไม่ได้มีปัญหาในด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นเลยเขาเป็นอัจฉริยะที่น้อยคนนัก จะไม่มีปัญหาในการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่นเขาเป็นคนที่มีจิตใจงดงามอย่างยิ่งต่อคนอื่น รักเด็ก และเอื้ออาทรต่อคนที่รู้จัก รวมถึงคนที่ทุกข์ยาก ทั้งจากสงครามหรืออื่นๆและที่สำคัญที่สุด ก็คือภาพของอัจฉริยะคนอื่นๆ มักจะเป็น "ปัญเจก" ไม่ยอมให้ผู้ใดเข้ามากล้ำกราย โดยเฉพาะกับพวกนักคณิตศาสตร์เก่งๆ ทั้งหลาย มีคำพูดที่ติดปากก็คือ หากโจทย์ใดที่ไม่สามารถแก้ได้ สิ่งที่พวกเขาจะพึงใจก็คือให้โจทย์นั้น ดำรงอยู่เช่นนั้นมากกว่า ซึ่งผิดกับ พอล แอร์ดิช ที่เขามักจะพยายามหาเพื่อนหรือคู่หู มาร่วมแก้โจทย์ด้วยกัน ไม่มีท่าที "หวง" หรือ "กัน" ไม่ให้คนอื่นเข้ามาร่วมแต่อย่างใด พอล แอร์ดิช มีผลงานคณิตศาสตร์มากกว่าพันชิ้น และได้ร่วมงานกับนักคณิตศาสตร์อื่นอีกหลายร้อยคน และ "การร่วมงาน" นั้น ได้นำมาสู่การตั้งรหัส "แอร์ดิช" ขึ้นมา ผู้ที่เคยร่วมงานกับเขาโดยตรง จะมีรหัสแอร์ดิชเท่ากับ 1 ผู้ที่ไม่เคยร่วมงานกับเขาเลยแต่ร่วมงานกับผู้ที่เคยร่วมงานกับเขาโดยตรง ก็จะมีรหัสแอร์ดิชเท่ากับ 2 และนับเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆรหัสแอร์ดิช จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการทำงานร่วมกับคนอื่น และนักคณิศาสตร์ทั่วโลก ก็ดูเหมือนจะยอมรับ รหัสแอร์ดิช นี้และยินดีที่จะมีรหัสแอร์ดิน อินฟินิตี้ อันหมายถึงยังไม่มีโอกาสที่จะได้ทำงานร่วมกับคนที่เคยทำงานสัมพันธ์กับเครือข่ายรหัสแอร์ดิช สิ่งที่ พอล แอร์ดิช สูญเสียอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ การสูญเสียตัวเองให้กับยาเสพติด เขาเป็นอัจฉริยะ ไม่มีใครปฏิเสธ แต่เขาก็ยังรู้สึกว่า "กำลังกาย" ที่เขามีอยู่ ไม่อาจที่จะรีดนาทาเร้นความเก่งกาจเพื่อมารับใช้วงการคณิตศาสตร์ ได้อย่างเพียงพอ การทำงานวันละ 19 ชั่วโมง แบบ "ตลอดเวลา" และ "ทุกสถานที่" มนุษย์ที่มีเลือดเนื้อ ไม่อาจอยู่ได้แน่นอน พอล แอร์ดิช ก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เขาจึงหันไปพึ่งยาเสพติด โดยเฉพาะ "ยาอี" ที่จะทำให้เขายืนอยู่ในโลกคณิตศาสตร์ อย่าง "เหนือมนุษย์" เรื่องการใช้ "ยาเสพติด" เป็นที่ทราบกันดีในแวดวงนักคณิตศาสตร์ แน่นอนว่า มันเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ แต่ดูเหมือนจะมีความพยายามมองข้าม และไม่มีใครเข้าไปก้าวก่ายตรงนี้มากนักซึ่ง พอล แอร์ดิช ก็ไม่อยากจะให้นำเรื่องยาเสพติดนี้มาผูกเข้ากับความเป็นอัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ของเขานักเช่นกัน พอล แอร์ดิช เสียชีวิตที่เมือง Warsaw, Poland เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2539 รวมอายุได้ 83 ปี
 
Today, there have been 2 visitors (2 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free